วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อแนะนำและเคล็ดไม่ลับ

ข้อแนะนำการถักนิตติ้ง

1.การจับไม้นิต จับไม้นิตได้2แบบคือ ไหมผ่านทางนิ้วมือด้านขวาและไหมผ่านนิ้วมือด้านซ้าย

การจับไม้นิตผ่านมือซ้าย





การจับไหมผ่านมือขวา






2.การเริ่มต้นห่วง ทำไดเหลายลักษณะซึ่งเลือกใช้ตามถนัดและความเหมาะสม




การขึ้นต้นโดยใช้เข็มโคเชต์ ริมเป็นลูกโซ่



การขึ้นต้นห่วงแบบเขี่ยจากสันโซ่




การขึ้นลาย (1) แบบตวัดไม้




ขึ้นลายเอว (2) แบบเขี่ยจากสันโซ่




3.การดูตัวเลขผังตัวหนังสือ ตัวเลขสีเข้ม (ตัวหน้า) เป็นเซนติเมตรเสมอ ส่วนตัวเลขด้านหลังคือ จำนวนห่วงหรือแถว

4.การถักให้ดูผังตัวเสื้อ ถ้ามีเส้นขีดกลางมีลูกศรขึ้นหรือลง หมายถึงการขึ้นต้น ห่วงด้วยการเขี่ยห่วงจากสันโซ่ที่ถักด้วยเข็มโครเชท์ หลังจากเขี่ยห่วงถักลายได้เลย เมื่อถักเสร็จทั้งสองชิ้น เย็บต่อข้างและไหล่แล้วจึงเลาะโซ่ออก เพื่อถักลายเอวจบลงด้วยการเย็บห่วง

5.การดูผังลายของญี่ปุ่น สิ่งที่จำให้ขึ้นใจคือ
ก ผังลายเขียน ล ทุก แถว ต้องถัก ล แถวเลขขี่ ข แถวเลขคู่
ข ผังลายเขียน ข ทุกแถว ต้องถัก ข แถวเลขขี่ ล แถวเลขคู่
ด้านหน้าของลายเป็นด้านหลังของลายเปีย
ด้านขึ้น ( STOCKINET BACK SIDE )
ค ผังลายเขียน ล แถว ข แถว ต้องถัก ล ทุกแถว
ด้านหน้าของงานกลายเป็นลายลง ( GARTER ) เมื่อจำลักษณะผังลายได้แม่นยำจะทำให้ลาย
ดูง่ายขึ้น

6.การหาห่วงมาตรฐาน สิ่งสำคัญมากคือการหาห่วงมาตรฐานของคุณเอง แม้ว่าจะใช้ไหม ขนาดของไม้นิตทุกอย่างตามผังลายระบุ การถักแน่นหรือหลวงของคุณอาจทำให้จำนวนแถวเปลี่ยนไป หาห่างมาตรฐานโดยถักลายที่ต้องกการขนาด 15 x 15 ซ.ม. พักไว้ 1 – 2 วัน หรือรีดโดยใช้ผ้าหมาดๆ ทับเพื่อให้เส้นไหมอยู่ตัวเสียก่อน แล้วจึงดูว่า 10 ซ.ม. = กี่ห่วง x กี่แถวขนาดห่วงมาตรฐานเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการคำนวณการลดหรือเพิ่มตัวเสื้อวงแขน คอหน้า คอหลัง และอื่นๆ

7.การดูตัวเลขลดหรือเพิ่ม ตัวเลขที่กำกับไว้แสดงการลดหรือเพิ่มห่วงดูจากล่างขึ้นไปบนตามลายที่ถัก เลขตัวหน้าคือทุกแถวที่ ตัวกลางคือจำนวนห่างที่ต้องลดหรือเพิ่ม เลขตัวหลังคือจำนวนครั้งที่ต้องถัก เช่น

แถวที่ 2 ปลด 3 ห่วง (หรือพักไว้ไม่ต้องถัก) 1 ครั้ง
แถวที่ 4 ถัก ร2
แถวที่ 6 ถัก ร2
แถวที่ 8 ถัก ร1
แถวที่ 10 ถัก ร1
แถวที่ 13 ถัก ร1
แถวที่ 14 ถักตามลายที่เหลือไป 4 แถว จบด้วยแถวที่17 ตัวเลขหลังตัวอักษรหมายถึง จำนวน
ครั้งที่ต้องถัก เช่น
ร2 = ร1 ร1
ล5 = ล1 ล1 ล1 ล1

8.การปลดห่วง
ก การปลดห่วงเพื่อถักลายต่อไป ให้ถ่ายห่วงจากไม้นิตซ้ายมือไปยังไม้นิตขวามอแล้วถักตาม ลายที่ระบุไว้
ข การปลดห่วงเพื่อสิ้นสุดงานถัก ให้ถ่ายจากไม้นิตซ้ายมือไปยังไม้นิตขวามือ 1 ห่วง ถัก 21 เขี่ยห่วงที่พักไว้ค่อมห่วง ล1 ถัก ล1 อีกครั้ง เขี่ยห่วงแรกทางขวามือคร่อมห่วงที่ 2 จนจบงานถัก

9.การถักแบบญี่ปุ่น ช่วงคอซึ่งต้องปลดห่วงกว้าง 10 กว่าห่วง ไม่ใช่การปลดห่วง แต่ก็บห่วงไว้ในเข็มกลัดเก็บห่วงพักไว้ เวลาถักสาบคอถักได้เลย ถ้าไหล่ตรงให้พักไว้เช่นเดียวกัน

10.การลดหรือเพิ่มมากกว่า 2 ห่วง ใช้การปลดห่วงการเพิ่มก็เช่นกัน ถ้าเพิ่มมากกว่า 2 ห่วงใช้วิธีเดียวกับการเริ่มต้นห่วง การเพิ่ม 2 ห่วงมักใช้วิธี ล1 ข1 ในห่วงเดียวกัน หรือตามที่ระบุไว้
11.การใช้ไม้นิตวงกลม ถักตามผังลายโดยไม่ต้องถักกลับแถวหน้า เช่น ลายเอว ล1 ข1 ในแถวแรก ถ้าใช้ไม้นิตแบบธรรมดาต้องถัก ข1 ล1 ในแถวที่ 2 แต่ถ้าใช้ไม้นิตวงกลมจะถัก ล1 ข1 ในแถวที่ 2 ซึ่งเหมือนกันกับแถวแรก

12.การซักงานถัก เวลาซักงานถักห้ามบิดหรือขยี้ ให้เพียงขยำเบาๆแล้วล้างน้ำสะอาดให้หมดผงซักฟอก น้ำสุดท้ายใส่น้ำส้มสายชูขยี้เล็กน้อยเพื่อให้สีไหมงดงามตามเดิม ปูลงบนผ้าเช็ดตัวม้วนซับน้ำออก จากนั้นตากในแสงแดดรำไรโดยการวางราบกับพื้น ห้ามแขวนงานถักโดยเด็ดขาด



เคล็ด(ไม่)ลับการถักนิตติ้ง
- แม้ว่าคุณจะใช้ไหมหรือไม้นิตขนาดเท่าที่ระบุในลาย แต่ยังไม่สามารถถักห่วงมาตรฐานได้เท่ากับที่ลายระบุ แก้ไขได้โดยถ้าถักได้น้อยกว่า ให้เปลี่ยนไม้นิตใหญ่ขึ้น 1 ขนาดถ้ามากกว่าให้เปลี่ยนไม้นิดเล็กลง 1 ขนาด
- เวลาถักหาห่วงมาตรฐานของคุณเอง ให้สังเกตห่วงที่เปลี่ยนไปในแนวทุกแถวของชิ้นงานที่ถัก จะทำให้คุณจำไว้ว่าถักอยู่แถวไหน การดูงานในไม้นิตเป็น จะทำให้ไม่ต้องกังวลกับลาย และแก้ไขได้เมื่อถักผิด
- เมื่อถักผิดควรเลาะถักใหม่ ถ้าคุณทำห่วงหลุดในลายเปียหรือลายเปียด้านหลัง คุณไม่จำเป็นต้องเลาะใหม่หมด ใช้เข็มโครเชท์ถักห่วงคร่อมในแต่ละแถว
- การถักแน่นเกินไป ทำให้งานที่ออกมาเส้นไหมกระด้าง

วิธีทำลูกตุ้มฟูกลม





คุณสามารถหาซื้ออุปกรณ์ทำลูกตุ้มฟูกลมได้ที่ knittinghouse หรือสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวของคุณเอง ดังนี้ค่ะ

1. ตัดกระดาษแข็งให้เป็นวงกลมตามขนาดที่ต้องการ เสร็จแล้วเจาะรูตรงกลางกระดาษให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางตามที่ต้องการ จำนวน 2 ชิ้น

2. ตัดไหม 6 เส้น ยาวเส้นละ 2 หลา ต่อไปจับกระดาษวงกลมทั้ง 2 ชิ้น ให้ประกบกันไว้ในมือซ้าย และเริ่มพันไหมผ่านรูกลางกระดาษให้รอบขอบกระดาษตามภาพ ขนาดของลูกตุ้มจะอยู่ที่จำนวนรอบของเส้นไหมที่พันกระดาษ

3. ใช้กรรไกรตัดไหมโดยรอบกระดาษ

4. แยกกระดาษทั้ง 2 ชิ้นออกเล็กน้อย ใช้ไหมอีกเส้นที่มีความยาว 12 นิ้ว พันรอบไหมระหว่างกระดาษ จำนวน 2 รอบ เสร็จแล้วผูกให้แน่น

5. ค่อย ๆ ตึงกระดาษออก ใช้กรรไกรตกแต่งลูกตุ้มให้กลมเรียบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น