วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผลิตภัณฑ์จากการถักนิตติ้งและการพันผ้าพันคอ

จากการที่เราถัก ถัก ถัก แล้วก็ถักกันมานานแล้วเราก็จะนำลายต่างๆจากกาถักทั้งขนาดและความยาวรูปร่างต่างๆ นำมาประกอบกันเปลี่ยนแปลงรูปแบบลายต่างๆนาๆจนได้ผลิตภัณฑ์จากการถักนี้ หลายอย่างด้วยกันมากมายเลยทีเดียว

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการถักและการตกแต่งเพิ่มเติม


















และสุดท้ายจะเป็นเทคนิคเกี่ยวกับการผูกผ้าพันคอ แบบอินเทนด์ๆ นะค่ะ


Classic Drape





Double Wrap





Neck-Tie





Loose Neck-Tie




European Casual





Single knot





knot and Flip





Classic Flip




Double Flip





แบบลูกเสือ


*** ป.ล. ต้องขออภัยหากนางแบบวสยและน่าตาดีมาก นะคะ อิอิ...^^"

สัญลักษณ์และลายต่าง

อักษรย่อและสัญลักษณ์ลายของการถัก






เรียนรู้อักษรย่อ และสัญลักษณ์กันแล้ว ต่อมาก็จะเป็นลายต่างๆ เริ่มจากลายพื้นฐานกันเลยนะค่ะ


ลายถักนิตติ้งพื้นฐาน


1.




ลายการ์เตอร์ (Garter stich) คือ ลายถักนิตติ้งที่เกิดจากการถักนิตทุกแถว
ลายที่เกิดขึ้นจะเหมือนกันทั้งสองด้าน

2.





ลายสต๊อกกิ้งหรือลายสต๊อกกิเนท ( Stocking or stockinette stich ) คือ ลายถักนิตติ้งที่เกิดจากการถักนิต 1 แถว สลับกับเพิร์ล 1 แถว ทำให้ลายที่เกิดขึ้นมีด้านหนึ่งเป็นลายนิต (เป็นรูปตัว V ) และอีกด้านหนึ่งเป็นลายเพิร์ล (เป็นลายเส้นขวางเล็ก ๆ)

3.



ลายลูกฟูกเล็ก (K1P1 rib) คือการถักนิต 1 ห่วงสลับกับเพิร์ล 1 ห่วง ตลอดแถว เมื่อขึ้นแถวใหม่ให้ถักลายให้ตรงกัน

4.



ลายลูกฟูกใหญ่ (Double rib) คือการถักนิต 2 ห่วงสลับกับเพิร์ล 2 ห่วง ตลอดแถว เมื่อขึ้นแถวใหม่ให้ถักลายให้ตรงกัน


สงวนลิขสิทธิ์ โดย สมสวาท แสงนนท์ตระกูล

By:





ต่อมาก็เป็นลายสวยงามอื่นๆ แต่ลายเหล่านี้นั้นต้องอาศัยลายพื้นฐานเข้ามาช่วยด้วยนะค่ะ





ลายถักนิตติ้ง


ลาย Double Seed Stitch หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า Double Moss Stitch







ขึ้นต้นด้วยจำนวนห่วงคูณ 4
แถวที่ 1 และ 2 : *k2, p2* ถักซ้ำในเครื่องหมายจนจบแถว
แถวที่ 3 และ 4 : *p2, k2* ถักซ้ำในเครื่องหมายจนจบแถว
ถักซ้ำแถวที่ 1 - 4




ลาย Seafoam





ขึ้นต้นด้วยจำนวนห่วงคูณ 10 บวก 6

แถวที่ 1 และ 2 : K
แถวที่ 3 (ด้านถูก) : K6 * (yo) 2 ครั้ง, k1, (yo) 3 ครั้ง, k1, (yo) 4 ครั้ง, k1(yo) 3 ครั้ง, k1, (yo) 2 ครั้ง, k6 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *....* จนจบแถว
แถวที่ 4 : K , ปล่อยห่วง yo ทุกห่วงให้หลุดจากไม้นิต
แถวที่ 5 และ 6 : K
แถวที่ 7 : K1, * (yo) 2 ครั้ง, k1, (yo) 3 ครั้ง, k1, (yo) 4 ครั้ง, k1, (yo) 3 ครั้ง, k1, (yo) 2 ครั้ง, k6 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....* จนเหลือ 1 ห่วงสุดท้ายถัก k1
แถวที่ 8 : ถักเหมือนแถวที่ 4

ถักซ้ำแถวที่ 1 - 8



ลาย Checks & Ridges






ขึ้นต้นด้วยจำนวนห่วงคูณ 4 บวก 2
แถวที่ 1: K
แถวที่ 2 : K
แถวที่ 3 : P2, * k2, p2, * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....* จนจบแถว
แถวที่ 4 : K2, * p2, k2 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....* จนจบแถว
แถวที่ 5 : K
แถวที่ 6 : K
แถวที่ 7 : ถักซ้ำแถวที่ 4
แถวที่ 8 : ถักซ้ำแถวที่ 3
ถักซ้ำแถวที่ 1 - 8


ลาย Fisherman 's Rib







เป็นลายที่นิยมมากในหมู่นักถักนิตติ้ง

ขึ้นต้นด้วยจำนวนห่วงคู่
เมื่อขึ้นต้นแล้วให้ถักเพิร์ลหนึ่งแถว
แถวที่ 1: * P1, ใช้ไม้ขวายกขาข้างขวาของห่วงที่อยู่ใต้แถวที่กำลังถักอยู่ขึ้นมาถักนิต * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *......* จนเหลือ 2 ห่วงสุดท้ายถัก p2
ถักซ้ำแถวที่ 1 จนได้ความยาวตามต้องการ





ลาย Pavillion






ขึ้นต้นด้วยจำนวนห่วงคูณ 18

แถวที่ 1: (RS) * k2, p1, k5, p7, k3 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 2 และทุกแถวคู่ : ถักนิตที่ห่วงนิต และถักเพิร์ลที่ห่วงเพิร์ล
แถวที่ 3: * (k1, p1) 2 ครั้ง, k5, p5, k4 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 5 : * p1, k3, p1, k5, p3, k5 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 7 : * k5, p1, k5, p7 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 9 : * (p1, k5) 2 ครั้ง , p5, k1 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 11 : * k1, (p1, k5) 2 ครั้ง, p3, k2 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *......*
แถวที่ 13 : k2, * p1, k5 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....* จบด้วย p1, k3
แถวที่ 15 : * k3, p1, k5, p1, k3, p1, k1, p1, k2 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 17 : * k4, p1, k5, p1, k1, p1, k3, p1, k1* ถักซ้ำในเครื่องหมาย *......*
แถวที่ 19 : * k5, p7, k5, p1 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 21 : * p1, k5, p5, k5, p1, k1 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 23 : * k1, p1, k5, p3, k5, p1, k2 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *......*
แถวที่ 25 : * k2, p7, k5, p1, k3 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *......*
แถวที่ 27: * k1, p1, k1, p5, k5, p1, k4 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 29 : * p1, k3, p3, k5, p1, k5 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 31: * k5, p1 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *......*
แถวที่ 33 : * k4, p1, k1, p1, k3, p1, k5, p1, k1 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *.....*
แถวที่ 35 : * (k3, p1)2 ครั้ง, k1, p1, k5, p1, k2 * ถักซ้ำในเครื่องหมาย *......*
แถวที่ 36 : ถักนิตที่ห่วงนิต และถักเพิร์ลที่ห่วงเพิร์ล

ถักซ้ำแถวที่ 1 - 36

ข้อแนะนำและเคล็ดไม่ลับ

ข้อแนะนำการถักนิตติ้ง

1.การจับไม้นิต จับไม้นิตได้2แบบคือ ไหมผ่านทางนิ้วมือด้านขวาและไหมผ่านนิ้วมือด้านซ้าย

การจับไม้นิตผ่านมือซ้าย





การจับไหมผ่านมือขวา






2.การเริ่มต้นห่วง ทำไดเหลายลักษณะซึ่งเลือกใช้ตามถนัดและความเหมาะสม




การขึ้นต้นโดยใช้เข็มโคเชต์ ริมเป็นลูกโซ่



การขึ้นต้นห่วงแบบเขี่ยจากสันโซ่




การขึ้นลาย (1) แบบตวัดไม้




ขึ้นลายเอว (2) แบบเขี่ยจากสันโซ่




3.การดูตัวเลขผังตัวหนังสือ ตัวเลขสีเข้ม (ตัวหน้า) เป็นเซนติเมตรเสมอ ส่วนตัวเลขด้านหลังคือ จำนวนห่วงหรือแถว

4.การถักให้ดูผังตัวเสื้อ ถ้ามีเส้นขีดกลางมีลูกศรขึ้นหรือลง หมายถึงการขึ้นต้น ห่วงด้วยการเขี่ยห่วงจากสันโซ่ที่ถักด้วยเข็มโครเชท์ หลังจากเขี่ยห่วงถักลายได้เลย เมื่อถักเสร็จทั้งสองชิ้น เย็บต่อข้างและไหล่แล้วจึงเลาะโซ่ออก เพื่อถักลายเอวจบลงด้วยการเย็บห่วง

5.การดูผังลายของญี่ปุ่น สิ่งที่จำให้ขึ้นใจคือ
ก ผังลายเขียน ล ทุก แถว ต้องถัก ล แถวเลขขี่ ข แถวเลขคู่
ข ผังลายเขียน ข ทุกแถว ต้องถัก ข แถวเลขขี่ ล แถวเลขคู่
ด้านหน้าของลายเป็นด้านหลังของลายเปีย
ด้านขึ้น ( STOCKINET BACK SIDE )
ค ผังลายเขียน ล แถว ข แถว ต้องถัก ล ทุกแถว
ด้านหน้าของงานกลายเป็นลายลง ( GARTER ) เมื่อจำลักษณะผังลายได้แม่นยำจะทำให้ลาย
ดูง่ายขึ้น

6.การหาห่วงมาตรฐาน สิ่งสำคัญมากคือการหาห่วงมาตรฐานของคุณเอง แม้ว่าจะใช้ไหม ขนาดของไม้นิตทุกอย่างตามผังลายระบุ การถักแน่นหรือหลวงของคุณอาจทำให้จำนวนแถวเปลี่ยนไป หาห่างมาตรฐานโดยถักลายที่ต้องกการขนาด 15 x 15 ซ.ม. พักไว้ 1 – 2 วัน หรือรีดโดยใช้ผ้าหมาดๆ ทับเพื่อให้เส้นไหมอยู่ตัวเสียก่อน แล้วจึงดูว่า 10 ซ.ม. = กี่ห่วง x กี่แถวขนาดห่วงมาตรฐานเก็บไว้เพื่อประโยชน์ในการคำนวณการลดหรือเพิ่มตัวเสื้อวงแขน คอหน้า คอหลัง และอื่นๆ

7.การดูตัวเลขลดหรือเพิ่ม ตัวเลขที่กำกับไว้แสดงการลดหรือเพิ่มห่วงดูจากล่างขึ้นไปบนตามลายที่ถัก เลขตัวหน้าคือทุกแถวที่ ตัวกลางคือจำนวนห่างที่ต้องลดหรือเพิ่ม เลขตัวหลังคือจำนวนครั้งที่ต้องถัก เช่น

แถวที่ 2 ปลด 3 ห่วง (หรือพักไว้ไม่ต้องถัก) 1 ครั้ง
แถวที่ 4 ถัก ร2
แถวที่ 6 ถัก ร2
แถวที่ 8 ถัก ร1
แถวที่ 10 ถัก ร1
แถวที่ 13 ถัก ร1
แถวที่ 14 ถักตามลายที่เหลือไป 4 แถว จบด้วยแถวที่17 ตัวเลขหลังตัวอักษรหมายถึง จำนวน
ครั้งที่ต้องถัก เช่น
ร2 = ร1 ร1
ล5 = ล1 ล1 ล1 ล1

8.การปลดห่วง
ก การปลดห่วงเพื่อถักลายต่อไป ให้ถ่ายห่วงจากไม้นิตซ้ายมือไปยังไม้นิตขวามอแล้วถักตาม ลายที่ระบุไว้
ข การปลดห่วงเพื่อสิ้นสุดงานถัก ให้ถ่ายจากไม้นิตซ้ายมือไปยังไม้นิตขวามือ 1 ห่วง ถัก 21 เขี่ยห่วงที่พักไว้ค่อมห่วง ล1 ถัก ล1 อีกครั้ง เขี่ยห่วงแรกทางขวามือคร่อมห่วงที่ 2 จนจบงานถัก

9.การถักแบบญี่ปุ่น ช่วงคอซึ่งต้องปลดห่วงกว้าง 10 กว่าห่วง ไม่ใช่การปลดห่วง แต่ก็บห่วงไว้ในเข็มกลัดเก็บห่วงพักไว้ เวลาถักสาบคอถักได้เลย ถ้าไหล่ตรงให้พักไว้เช่นเดียวกัน

10.การลดหรือเพิ่มมากกว่า 2 ห่วง ใช้การปลดห่วงการเพิ่มก็เช่นกัน ถ้าเพิ่มมากกว่า 2 ห่วงใช้วิธีเดียวกับการเริ่มต้นห่วง การเพิ่ม 2 ห่วงมักใช้วิธี ล1 ข1 ในห่วงเดียวกัน หรือตามที่ระบุไว้
11.การใช้ไม้นิตวงกลม ถักตามผังลายโดยไม่ต้องถักกลับแถวหน้า เช่น ลายเอว ล1 ข1 ในแถวแรก ถ้าใช้ไม้นิตแบบธรรมดาต้องถัก ข1 ล1 ในแถวที่ 2 แต่ถ้าใช้ไม้นิตวงกลมจะถัก ล1 ข1 ในแถวที่ 2 ซึ่งเหมือนกันกับแถวแรก

12.การซักงานถัก เวลาซักงานถักห้ามบิดหรือขยี้ ให้เพียงขยำเบาๆแล้วล้างน้ำสะอาดให้หมดผงซักฟอก น้ำสุดท้ายใส่น้ำส้มสายชูขยี้เล็กน้อยเพื่อให้สีไหมงดงามตามเดิม ปูลงบนผ้าเช็ดตัวม้วนซับน้ำออก จากนั้นตากในแสงแดดรำไรโดยการวางราบกับพื้น ห้ามแขวนงานถักโดยเด็ดขาด



เคล็ด(ไม่)ลับการถักนิตติ้ง
- แม้ว่าคุณจะใช้ไหมหรือไม้นิตขนาดเท่าที่ระบุในลาย แต่ยังไม่สามารถถักห่วงมาตรฐานได้เท่ากับที่ลายระบุ แก้ไขได้โดยถ้าถักได้น้อยกว่า ให้เปลี่ยนไม้นิตใหญ่ขึ้น 1 ขนาดถ้ามากกว่าให้เปลี่ยนไม้นิดเล็กลง 1 ขนาด
- เวลาถักหาห่วงมาตรฐานของคุณเอง ให้สังเกตห่วงที่เปลี่ยนไปในแนวทุกแถวของชิ้นงานที่ถัก จะทำให้คุณจำไว้ว่าถักอยู่แถวไหน การดูงานในไม้นิตเป็น จะทำให้ไม่ต้องกังวลกับลาย และแก้ไขได้เมื่อถักผิด
- เมื่อถักผิดควรเลาะถักใหม่ ถ้าคุณทำห่วงหลุดในลายเปียหรือลายเปียด้านหลัง คุณไม่จำเป็นต้องเลาะใหม่หมด ใช้เข็มโครเชท์ถักห่วงคร่อมในแต่ละแถว
- การถักแน่นเกินไป ทำให้งานที่ออกมาเส้นไหมกระด้าง

วิธีทำลูกตุ้มฟูกลม





คุณสามารถหาซื้ออุปกรณ์ทำลูกตุ้มฟูกลมได้ที่ knittinghouse หรือสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวของคุณเอง ดังนี้ค่ะ

1. ตัดกระดาษแข็งให้เป็นวงกลมตามขนาดที่ต้องการ เสร็จแล้วเจาะรูตรงกลางกระดาษให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางตามที่ต้องการ จำนวน 2 ชิ้น

2. ตัดไหม 6 เส้น ยาวเส้นละ 2 หลา ต่อไปจับกระดาษวงกลมทั้ง 2 ชิ้น ให้ประกบกันไว้ในมือซ้าย และเริ่มพันไหมผ่านรูกลางกระดาษให้รอบขอบกระดาษตามภาพ ขนาดของลูกตุ้มจะอยู่ที่จำนวนรอบของเส้นไหมที่พันกระดาษ

3. ใช้กรรไกรตัดไหมโดยรอบกระดาษ

4. แยกกระดาษทั้ง 2 ชิ้นออกเล็กน้อย ใช้ไหมอีกเส้นที่มีความยาว 12 นิ้ว พันรอบไหมระหว่างกระดาษ จำนวน 2 รอบ เสร็จแล้วผูกให้แน่น

5. ค่อย ๆ ตึงกระดาษออก ใช้กรรไกรตกแต่งลูกตุ้มให้กลมเรียบ

ถัก ถัก ถักนิตติ้ง




การถักนิตติ้ง คืองานฝีมือชนิดหนึ่งที่นิยมกันมากในประเทศเมืองหนาว โดยเฉพาะถักเป็นเสื้อสเว็ตเตอร์ หมวก ผ้าพันคอ ถุงมือ ถุงเท้า สำหรับใส่กันหนาว และไม่เพียงแต่ถักเป็นเสื้อกันหนาวเพียงอย่างเดียว ยังถักเป็นเครื่องใช้ส่วนบุคคลและเครื่องใช้ในครัวเรือนได้มากมายสารพัดรูปแบบ แต่สำหรับในประเทศไทยดูเหมือนงานถักนิตติ้งแทบจะเป็นงานฝีมือที่เลือนหายไป ตำรานิตติ้งเป็นภาษาไทยก็หาศึกษาแทบไม่ได้ ถึงแม้ในอดีตการถักนิตติ้งเคยเป็นการฝีมือที่นักเรียนหญิงเคยเรียนเคยฝึกกันมาแล้วแทบทั้งสิ้น เข้าใจว่าหลายคนคงคิดว่าประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จึงลดความนิยมในการถักนิตติ้งไป ที่เกริ่นมานี้แม้ประเทศไทยจะเป็นเมืองร้อน งานถักนิตติ้งก็ยังมีความต้องการอยู่ และมีเสน่ห์ของการที่จะได้สัมผัสทดลองฝึกถักดูอยู่มาก เพราะไม่เพียงถักเป็นเครื่องกันหนาวหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ แต่สิ่งที่ได้รับนอกจากนั้น คือ การได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ให้ความท้าทายสติปัญญากับแพทเทิร์นต่าง ๆ

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนาไปก้าวไกลมาก เส้นด้ายและเส้นไหมที่ใช้ถักนิตติ้งก็มีการคิดค้นผลิตกันออกมามากมาย ทั้งหลากวัสดุ หลากสีสันและหลากลวดลาย เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด เสื้อถักนิตติ้งจึงไม่ได้เป็นเพียงเสื้อกันหนาวอย่างเดียวอีกต่อไปแล้ว ยังถักกันเป็นเสื้อแฟชั่นที่สามารถสวมใส่ได้ทุกฤดูกาลรวมถึงฤดูร้อนด้วย เสื้อแฟชั่นนิตติ้งถึงแม้จะเป็นเสื้อมีสไตล์เริดหรู เก๋ไก๋ สง่างามหรือสวยคลาสสิคปานใด แต่ถ้าเป็นเสื้อแบรนด์เนมดัง ๆ ก็จะมีราคาแพงมาก ซึ่งถ้าเราถักนิตติ้งเป็น เราก็สามารถรังสรรค์ผลงานแบบนั้นได้เช่นกัน ไม่ยากเหมือนอย่างที่คิด หรืออาจจะสวยกว่าด้วยซ้ำ และยังสามารถออกแบบในสไตล์ของเราได้ไม่ซ้ำคนอื่น ราคายังถูกกว่ามาก แถมได้ความภาคภูมิใจอีกด้วย


ต่อไปเรามาดูวัสดุอุปรณ์ในการถักนิตต้ง กันนะคะ





1. ไหมพรมและด้ายถัก

ไหมพรมและด้ายถักในงานนิตติ้ง มีมากมายหลายชนิด หลายขนาด แบ่งตามน้ำหนักและความหนาของเส้นไหม นับตั้งแต่ไหมพรมเส้นใหญ่ จนถึงไหมพรมเส้นเล็กมาก ความหนาของเส้นไหมที่แตกต่างกันจะเหมาะกับงานถักที่แตกต่างกัน





2. ไม้นิต

ไม้นิตมีหลายชนิดทำจากวัสดุที่แตกต่างกัน เช่นไม้นิตไม้ไผ่, ไม้
นิตอลูมิเนียมเคลือบสารเทฟลอน และไม้นิตพลาสติก เป็นต้น ไม้นิตที่นิยมใช้ในเมืองไทยผลิตจากอเมริกา อังกฤษ (ไม้นิตหัวแดง) และไม้ นิตญี่ปุ่น เบอร์ ขนาดของไม้นิตในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน เราจะวัดขนาดของไม้นิตที่เส้นผ่าศูนย์กลางของไม้นิตและวัดเป็นขนาดมิลลิเมตร ไม้นิตมีหลายแบบ หลายขนาด ดังนี้

- ไม้นิตตรง ใช้ถักนิตติ้งแบบกลับไปกลับมา

- ไม้เซตและไม้นิตวงกลม ใช้ถักนิตติ้งแบบเป็นวงกลม

- ไม้นิตถักลายเกลียว ใช้ถักนิตติ้งที่มีลายเป็นลายเกลียว





3. วัสดุอุปกรณ์ช่วยอื่น ๆ

มีเพียงไหมพรมและไม้นิต เราก็สามารถถักนิตติ้งได้แล้ว แต่จะให้งานถักนิตติ้งสะดวกรวดเร็ว และสมบูรณ์สวยงามตามต้องการ เราคงต้องพึ่งวัสดุอุปกรณ์ช่วยอื่น ๆ เช่น

- เข็มโครเชต์ เป็นอุปกรณ์ช่วยที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่ทำให้งาน
นิตติ้งง่ายขึ้น เมื่อเกิดปัญหาห่วงหลุด เราก็สามารถใช้เข็มโครเชต์ควักห่วงที่หลุดขึ้นมาได้ หรือจะใช้ในการเย็บประกอบงานถักแทนเข็มเย็บไหมพรมได้ในบางกรณี และใช้ถักลายเพื่อตกแต่งงานนิตติ้งให้สวยงามขึ้น ควรหาซื้อเข็มโครเชต์ไว้หลาย ๆ ขนาด ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และไม่ทำให้งานถักหยุดชะงัก

- อุปกรณ์วัดงานนิตติ้ง สำหรับใช้วัดขนาดถัก วัดขนาดทั่วไป และวัดขนาดไม้นิต

- กระสวยพันไหม ใช้ในงานถักสลับสี กระสวยพันไหมที่จำหน่ายในท้องตลาด มีอยู่ 3 ขนาด คือ เล็ก กลาง และใหญ่ เมื่อจะใช้ถักสลับสี ก็ให้ตัดไหมยาวประมาณ 2 เมตร แล้วพันไหมแต่ละสีไว้ในกระสวย แล้วจึงถักไหมจากกระสวยนั้น ๆ

- อุปกรณ์ทำตำแหน่งหรือคั่นลาย ประกอบด้วย จำนวนห่วงและจำนวนแถวมากมาย รวมทั้งอาจมีลายถักประกอบด้วย เพื่อป้องกันการสับสนและกันลืม จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะมีอุปกรณ์ทำตำแหน่งหรือคั่นลายไว้ในกล่องอุปกรณ์เสมอ

- เข็มพักห่วง บางครั้งในงานถักนิตติ้ง จะมีการพักห่วงถักไว้ก่อนชั่วคราว เพื่อรอถักต่อไป เช่น ห่วงกลางคอหน้าและกลางคอหลัง หรือห่วงที่ไหล่เสื้อ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีเข็มพักห่วงขนาดต่าง ๆ หรือจะใช้เข็มกลัด หรือ ไหมร้อยห่วงไว้แทนก็ได้

- เข็มหมุดและเข็มเย็บ สำหรับเข็มหมุดนิตติ้งนั้นจะมีรูปตัว T หรือเป็นเข็มหมุดที่มีหัวใหญ่กว่าเข็มโดยทั่วไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ เข็มหมุดจมหายไปในงานถัก ส่วนเข็มเย็บจะมีปลายเข็มมน รูเข็มยาวและใหญ่ ควรมีไว้หลาย ๆ ขนาด






By: สงวนลิขสิทธิ์ โดย สมสวาท แสงนนท์ตระกูล